31.10.08

ขนมบ้าบิ่น

ขนมบ้าบิ่น

ส่วนผสม
แป้งข้าวเหนียวขาว 3 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูดขาว 1/2 กิโลกรัม
ไข่เป็ด 1 ฟอง
น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง

วิธีทำ
ผสมแป้งข้าวเหนียวกับมะพร้าวขูดขาวให้เข้ากัน นวดจนกะทิซึมออกมา ต่อยไข่ใส่ นวดให้เข้ากัน ใส่น้ำตาลและน้ำคนให้เข้ากัน เทใส่กระทะทองนำไปตั้งไฟกวน พอแห้งยกลง
นำถาดสี่เหลี่ยมขนาด 7 1/2 x 12 1/2 นิ้ว มาทาน้ำมันพืชให้ทั่ว เทขนมใส่ถาดเกลี่ยหน้าให้เรียบ เข้าเตาอบไฟล่าง ไฟบน จนเหลืองทั่วดีทั้ง 2 ด้าน นำออกจากเตาอบทิ้งไว้ให้เย็น ตัดเป็นชิ้นตามต้องการ

30.10.08

มะพร้าวแก้ว

มะพร้าวแก้ว

ส่วนผสม
มะพร้าวทึนทึก ( ขูดให้เป็นเส้น ) 3 ผล
น้ำตาลทราย 1 1/2 กิโลกรัม
น้ำลอยดอกไม้สด& 5 ถ้วยตวง

วิธีทำ
ผสมน้ำลอยดอกไม้สดกับน้ำตาลทรายใส่กระทะทองตั้งไฟ คนให้น้ำตาล ทรายละลาย กรองใหสะอาดเคี่ยวจนน้ำตาลเป็นยางมะตูมอ่อน ๆ
ใส่มะพร้าวกวนจนน้ำแห้งและเหนียว จึงตักใส่ภาชนะ ตักหยอดเป็นกอง พักไว้ให้เย็นถ้าจะให้มีสีต่าง ๆ เวลากวนผสมสีลงไปเล็กน้อย


**ควรแบ่งน้ำเชื่อมและมะพร้าวเป็นส่วน ๆ เพื่อผสมสี หนึ่งสีต่อครั้ง
อบขนมด้วยควันเทียน จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น

29.10.08

ส้มลอยแก้ว

ส้มลอยแก้ว

สำหรับรับประทาน 5 คนค่ะ เตรียม

๐ ส้มเขียวหวาน 4 ผล
๐ ส้มเช้ง 3 ผล
๐ ส้มโอทองดี 1/2 ผล
๐ องุ่นเขียว 200 กรัม
๐ องุ่นแดง 100 กรัม
๐ มะปราง 10 ผล
๐ สับปะรด 1/2 ผล
๐ น้ำตาลทราย 200 กรัม
๐ น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1. ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำสะอาดลงในน้ำตาล ตั้งไฟแล้วทิ้งไว้ให้เดือดบนไฟอ่อนประมาณ 5 นาที
2. เตรียมผลไม้ โดยล้างเปลือกนอกให้สะอาด ปอกเปลือกส้มทุกชนิด ส้มเขียวหวานและส้มเช้งลอกเยื่อหุ้มและเขี่ยเมล็ดออกให้หมด ส้มโอแกะกลีบ ลอกเยื่อ แล้วบิเป็นชิ้นขนาดคำ องุ่นลิดเปลือกนอก แคะเมล็ดออกให้หมด สัปะรดหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า มะปรางปอกเปลือกและคว้านเมล็ด
3. เมื่อจะรับประทานจึงใส่ผลไม้ลงในถ้วยเสิร์ฟ ราดน้ำเชื่อมและใส่น้ำแข็งทุบ

28.10.08

ผลไม้ลอยแก้ว

ผลไม้ลอยแก้ว

1. ลองหลับตานึกถึงภาพผลไม้หลากสีหลายรส ทั้งเปรี้ยวจี๊ดหวานจัด มีกลิ่นหอม หั่นชิ้นสวยๆมาวางจัดใส่จานแก้วใสๆ เติมน้ำแข็งบดลงไปอีกสักนิด พอน้ำแข็งเริ่มละลายผสมกับน้ำเชื่อมกลิ่นส้ม คุณว่าอร่อยขนาดไหน ว่าแล้วก็รวบรวมผลไม้ในใจคุณก่อนเลย จากนั้นเคี่ยวน้ำเชื่อมด้วยน้ำตาลทรายขาว น้ำส้มซันคิสต์ (จากผลส้มสดสัก 2 ลูก) ขูดเอาผิวลงผสมด้วยเล็กน้อยพอแค่ได้กลิ่น มากเกินไปจะขม
2. ปอกหั่นตัดแต่งผลไม้ให้สวย แต่อย่าลืมว่าผลไม้ที่จะนำมาเชื่อมลอยแก้วนั้นไม่ควรสุกมากเพราะเนื้อจะเละเวลาเชื่อม เตรียมผลไม้ที่สุกง่ายไว้หลังสุด นำหม้อน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ขึ้นตั้งบนเตา ใช้ความร้อนปานกลาง พอน้ำเชื่อมเริ่มเดือดปุด เติมน้ำส้มสดพร้อมผิวส้มและเกลือป่น ชิมรสดูหวานมากไปให้เติมน้ำมะนาวได้เล็กน้อย
3. เมื่อน้ำเชื่อมเดือดดีแล้วค่อยๆใส่ผลไม้ที่เตรียมไว้ลงเชื่อมทีละชนิด แค่ผลไม้สุกเป็นพอ ปิดไฟ ฉีกใบสะระแหน่โรยใส่ พักให้เย็น ระหว่างพักจนความร้อนค่อยๆเย็นลงนั้น ผลไม้ที่เชื่อมจะยังสุกต่อไป ตอนเชื่อมจึงต้องระวังอย่าให้ผลไม้สุกมากไปเพราะเมื่อเนื้อผลไม้เย็นก็จะเละเทะไม่น่าดู ไม่น่าทาน จากนั้นตักใส่จาน โรยน้ำแข็งบด พร้อมเสิร์ฟได้เลย

27.10.08

บัวลอยไข่หวาน

บัวลอยไข่หวาน

ส่วนผสม

แป้งข้าวเหนียว50 กรัม
น้ำเปล่า (สำหรับผสมตัวแป้ง)1 ช้อนโต๊ะ
น้ำคั้นใบเตย1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย250 กรัม
น้ำเปล่า1 ถ้วยตวง
หัวกะทิคั้นข้นๆ1/2 ถ้วยตวง
เกลือป่น1/4 ถ้วยตวง
ไข่ไก่3 ฟอง

วิธีท1. ผสมน้ำเปล่ากับน้ำตาลทรายให้เข้ากัน ใส่กระทะตั้งไฟพอเดือด จนส่วนผสมเป็นน้ำเชื่อมข้นๆ เบาไฟอ่อนๆ รอจนน้ำเชื่อมเป็นยางมะตูมอ่อนๆ เบาไฟอ่อน
2. ผสมแป้งข้าวเหนีว 25 กรัมกับน้ำเปล่า และผสมแป้งที่เหลือกับน้ำคั้นใบเตย นวดจนเนียน ปั้นเป็นเม็ดกลมเล็ก ใส่ก้อนแป้งลงต้มจนแป้งสุกใสและลอยขึ้น ตอกไข่ไก่ลงไปต้มในน้ำเชื่อม จนไข่สุกลอยขึ้น
3. ตั้งกะทิให้เดือด ใส่เกลือป่นคนจนละลาย4. ตักบัวลอยใส่ถ้วย ตักน้ำกะทิราดข้างบน จัดเสิร์ฟถ้าอยากมีลูกบัวลอยสีอื่นๆก็ใช้น้ำคั้นจากผัก-ผลไม้ที่มีสีสันก็ได้นะคะ

26.10.08

กล้วยบวชชีน้ำกะทิ

กล้วยบวชชีน้ำกะทิ

**ควรใช้กล้วยสุก แต่อย่าต้มนานจนเนื้อเละนะคะส่วนผสม (สำหรับ 4 ที่)
เมล็ดงา2 ช้อนโต๊ะ
กล้วย4 ผล
น้ำกะทิ500 มล.
น้ำตาล4 ช้อนโต๊ะ
เกลือ1/8 ช้อนชา

วิธีท1. คั่วเมล็ดงาในกระทะ โดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ใช้ไฟกลาง คั่วประมาณ 4-5 นาที จนเมล็ดงาออกสีเหลืองทอง
2. ปอกเปลือกกล้วยและหั่นเป็น 4 แฉก
3. นำกล้วย น้ำกะทิ และเกลือใส่หม้อเล็ก เอาขึ้นตั้งไฟกลาง ต้มให้ระอุประมาณ 8 นาที หรือจนเนื้อกล้วยดูนุ่ม
4. ตักแบ่งกล้วยและน้ำกะทิใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยเมล็ดงาและเสิร์ฟร้อนๆ แนะนำ :หากต้องการกล้วยเชื่อมที่ลงตัวมากขึ้น แช่สาคูในน้ำเย็นให้พอตัวประมาณ 15 นาที จากนั้นเอาลงหม้อต้มพร้อมกล้วยในขึ้นตอนที่ 3

25.10.08

หยกมณี

หยกมณี

ส่วนผสม
สาคูเม็ดเล็ก1 ถ้วย
มะพร้าวขูดขาว2 ถ้วย
เกลือป่น1/2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย1 1/2 ถ้วย
แป้งมัน3 ช้อนโต๊ะ
น้ำ2 ถ้วย
น้ำใบเตยข้นๆ1/2 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างสาคูให้หมดเศษผง ใส่ชามพักไว้
2. เคล้ามะพร้าวขูดกับเกลือเข้าด้วยกัน นึ่งพอร้อน พักไว้สำหรับโรยหน้า
3. ต้มน้ำให้เดือด เทใส่ชามสาคู ใส่น้ำตาล แป้งมัน คนให้เข้ากัน ใส่น้ำใบเตย คนให้ทั่วอีกครั้ง
4. ตักใส่ถ้วยอะลูมินั่มฟอยล์ เรียงใส่ลังถึง นึ่งในน้ำเดือดไฟแรง ประมาณ 10 นาทีหรือจนสุก โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดที่เตรียมไว้ เสิร์ฟ

24.10.08

ขนมหม้อแกงเผือก

ขนมหม้อแกงเผือก

เครื่องปรุง
ไข่เป็ด4 ฟอง
มะพร้าวขูดขาว 500 กรัม 2 ถ้วย
น้ำร้อนสำหรับคั้นกะทิ3/4 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ3/4 ถ้วย
เผือกนึ่งสุดบดละเอียด1/2 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.บดเผือกกับกะทิ 1 ถ้วย และแป้งจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน(แบ่งไว้ 1/2 ถ้วย)
2. ขยำไข่กับน้ำตาลทั้งสองชนิดด้วยใบเตย 5 นาที เทข้อ 1 ขยำต่ออีก 5 นาที กรองด้วยกระชอนลวด
3. จุดเตาอบอุณหภูมิ 350 องศาฟาเรนไฮท์ นำถาดเข้าอบจนร้อนจัด(3 นาที) นำออกจากเตาเทกะทิที่ผสมเผือกลง 1/2 ถ้วย เกลี่ยให้ทั่วถาด เทข้อ 2 ใส่ถาด เกลี่ยหน้าให้เสมอราดหน้าด้วยกะทิที่เหลืออีก 1/2 ถ้วย ให้เสมอกันทั่วถาด เข้าอบจนหน้าเหลืองเข้มเกือบเป็นสีน้ำตาล ประมาณ 30 นาที นำออกจากเตาวางถาดบนตะแกรง ปล่อยไว้ให้เย็นสนิท จึงตัดเป็นชิ้นลงจานเสิร์ฟเป็นอาหารหวาน

23.10.08

วิธีทำน้ำเชื่อมลอยดอกมะลิ

วิธีทำน้ำเชื่อมลอยดอกมะลิ

ส่วนผสม
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง

วิธีทำผสมน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิ นำไปตั้งไฟพอเดือดยกลง กรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปตั้งไฟใหม่เคี่ยวน้ำเชื่อมพอข้น ยกลงทิ้งไว้ให้เย็นหมายเหตุ
1. ถ้าต้องการทำน้ำเชื่อมให้มากให้เพิ่มอัตราส่วนมากขึ้น
2. ดอกไม้ที่ใช้ลอยได้แก่
- ดอกกระดังงาไทย ก่อนที่จะนำมาลอยต้องลนด้วยเทียนอบ บีบกระเปาะให้กลีบร่วงเอง(ห้ามเด็ด) กลีบหนึ่งฉีก 2-3 ชิ้น ควรเลือกดอกกระดังงาที่มีสีเหลืองถ้าสีเขียวกลิ่นจะไม่หอม
- เก็บจากต้นในตอนเย็น ถ้าเป็นดอกมะลิซื้อ ควรซื้อตอนเช้ามาห่อใบตองไว้ ถ้าซื้อตอนเย็นจะได้ดอกมะลิสำลักน้ำ เด็ดก้านดอกมะลิ ล้างน้ำวิธีลอยดอกไม้สด

1. ล้างภาชนะที่จะใช้ลอย จะเป็นขวดโหล หรือโถที่มีฝาปิดให้สะอาด
2. เทน้ำต้ม น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ค้างหลายๆวัน (เพราะถ้าใช้น้ำก๊อกใหม่ๆจะทำให้มีกลิ่นคลอรีน)
3. เวลาเย็นประมาณ 18.00 น. หยิบดอกมะลิ วางทางก้านลงและดอกกระดังงาที่ฉีกไว้ อย่าให้แน่นภาชนะ ต้องเหลือที่ว่างไว้ สำหรับให้น้ำเก็บกลิ่นหอมไว้ได้ (ถ้าไม่มีดอกกระดังงาอาจใช้ดอกมะลิอย่างเดียวก็ได้)
4. พอรุ่งเช้าประมาณ 6.00 น. เก็บดอกไม้ขึ้นจากน้ำให้หมด ถ้าทิ้งไว้นานเกินไป กลีบดอกไม้จะช้ำทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็น

22.10.08

ซ่าหริ่ม

ซ่าหริ่ม

ส่วนผสมตัวซ่าหริ่ม
(สีขาว)แป้งถั่วเขียว 1/2 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 3 ถ้วยตวง

วิธีทำตัวซ่าหริ่ม
1. ผสมแป้งถั่วเขียวกับน้ำ คนจนแป้งละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่กระทะทองเหลือง นำไปตั้งไฟกวนจนแป้งสุกและใส ยกลงจากเตา
2. ตักแป้งที่กวนแล้ว ใส่ที่กดซ่าหริ่ม ค่อยๆกดลงในถังน้ำเย็นแล้วเปลี่ยนน้ำประมาณ 2-3 ครั้ง เทใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยผ้าขาวบางแยกเป็นสีๆ

หมายเหตุถ้าทำสีอื่น เช่น สีชมพู ให้ใส่สีผสมลงในแป้ง หรือสีเขียวใช้น้ำใบเตยแทนน้ำลอยดอกมะลิส่วนผสมน้ำกะทิน้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
กะทิ 1 ถ้วยตวง

วิธีทำผสมน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิ นำไปตั้งไฟคนจนน้ำตาลทรายละลาย นำกลับไปตั้งไฟใหม่จนเดือดทั่วและน้ำเชื่อมข้น ใส่กะทิลงไปคอยคนอย่าให้กะทิเป็นลูก พอเดือดทั่ว ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานตักขนมใส่ถ้วย ใส่น้ำกะทิและน้ำแข็งทุบละเอียด

21.10.08

ลอดช่องน้ำกะทิ

ลอดช่องน้ำกะทิ

ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้า1 ถ้วย
น้ำปูนใส5 ถ้วย
ใบเตย10 ใบ

วิธีทำ
1. ล้างใบเตยให้สะอาด หั่นซอยตามขวาง โขลกหรือปั่นให้ละเอียดให้ได้ 5 ถ้วยตวง
2. นวดแป้งกับน้ำปูนใส โดยใส่น้ำปูนใสทีละน้อยแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่กระทะทอง กวนด้วยไฟปานกลางจนเนื้อแป้งข้น (ยกพายขึ้นแป้งจะติดพาย)
3. เทแป้งที่กวนได้ที่แล้ว ลงในพิมพ์ทองเหลืองที่เจาะรูไว้ ใช้ช้อนกดให้แป้งลอดช่องลงไปอยู่ในอ่างน้ำเย็นที่เตรียมไว้ (ถ้าน้ำร้อนต้องเปลี่ยนบ่อยๆ)
4. เทตัวลอดช่องใส่ผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ รับประทานกับน้ำกะทิ

ส่วนผสมน้ำกะทิ
น้ำตาลปี๊บอย่างดี 500 กรัม
มะพร้าวขูด 500 กรัม
น้ำลอยดอกมะลิ 3/4 ถ้วย
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำ
1. คั้นน้ำมะพร้าวด้วยน้ำลอยดอกมะลิ แยกหัวกะทิไว้ 1 ถ้วยตวง และกะทิ 2-3 ถ้วยตวง
2. ละบายน้ำตาลปี๊บลงในน้ำกะทิ ใส่เกลือป่น ยกตั้งไฟพอร้อน ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น รับประทานกับตัวลอดช่องและน้ำแข็ง

ขนมน้ำดอกไม้

ขนมน้ำดอกไม้

ขนมไทยอีกชนิดที่มีความหอมหวานในตัว และมีเสน่ห์ของขนมที่ลง ตัว อีกทั้งยังทำได้ง่าย ไม่มีเครื่องปรุง หรือขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไรนัก มี ความหอมอร่อยที่ได้จากน้ำลอยดอกมะลิ ความนุ่มนวลของตัวแป้งที่ทำ ให้ขนมชนิดนี้ บ่งบอกถึงความอ่อนโยนของคนไทย ที่แสดงออกมาในตัว ขนม ปัจจุบันยังหาซื้อทานได้ทั่วไป เพียงแต่ความหอมของน้ำดอกมะลิ อาจจะไม่ค่อยได้กลิ่น เนื่องจากแม่ค้าบางรายไม่ประณีตนัก ทำให้อาจจะ ขาดเสน่ห์ไปบ้าง ก็คงต้องเลือกหาร้านที่ถูกใจเสียหน่อย และมั่นใจว่ามี ความประณีตอย่างแท้จริงในการทำขนมไทยออกวางขาย

ส่วนผสม
น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ถ้วยตวง
แป้งมันสำปะหลัง 1 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
สีผสมอาหาร 2-3 สี


วิธีทำ
1. เอาแป้งข้าวเจ้ากับแป้งมันสำปะหลังมาผสมเข้าด้วยกัน แบ่งแป้งเพื่อใส่สีผสมอาหาร แล้วนวดจนให้สีกลืนกันออกเป็นสีอ่อนๆ โดยน้ำลอยดอกมะลิรินใส่ลงไปทีละน้อย
2. นวดแป้งจนแป้งเข้ากันดีเป็นเนื้อแป้งเนียน
3. จากนั้น เอาน้ำตาลต้มกับน้ำสะอาด 1 ถ้วยตวง พอน้ำตาล ละลายกลายเป็นน้ำเชื่อม ก่อนนำมาใช้ให้กรองด้วยผ้าขาว บางก่อน
4. เอาน้ำเชื่อมนวดพร้อมกับแป้งที่นวดไว้จนเข้าเป็นเนื้อเดียว
5. เอาถ้วยตะไลวางเรียงในรังถึง เพื่อทำการนึ่งถ้วยตะไลที่ยัง ไม่ได้หยอดขนมด้วยไฟค่อนข้างแรง เพื่อให้ถ้วยตะไลร้อน จัดมาก ๆ (ประมาณ 15 นาที)
6. ตักเนื้อขนมหยอดลงไปในถ้วยตะไลจนเต็มถ้วย
7. นำขึ้นนึ่งอีก 15 นาที เมื่อขนมสุก บริเวณผิวหน้าขนมจะมีรอยบุ๋มลง เคล็ดลับการที่เอาถ้วยตะไลนึ่งไฟแรง ๆ ก่อน ก็เพื่อให้ตัวขนมไม่ติดกับถ้วย ตะไล สามารถแคะออกได้สะดวก มะลิที่ใช้ลอย ต้องมั่นใจว่าไม่มี ยาฆ่าแมลงปะปน มิฉะนั้นจะตายหมู่กันทั้งคนกินและคนทำ

20.10.08

น้ำกะทิและน้ำเชื่อม

น้ำกะทิและน้ำเชื่อม

ขนมน้ำกะทิ
การทำน้ำกะทิสำหรับใส่ขนมทำได้ 2 อย่าง คือใช้น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลปึก การทำหน้ำกะทิโดยใช้น้ำตาลทรายจะต้องเชื่อมน้ำตาลและกรองเสียก่อนและควรใช้มะพร้าวขูดที่ปอกผิวแล้ว เพราะจะทำให้ได้น้ำกะทิขาวน่ารับประทาน น้ำที่ใช้คั้นกะทิก็ควรเป็นน้ำแช่ดอกไม้ (แต่ต้องแน่ใจว่าดอกไม้ที่นำมาแช่นั้น ปลอดภัยจากสารฆ่าแมลง) เพื่อให้น้ำกะทิหอมส่วนการทำน้ำกะทิโดยใช้น้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปีบ ไม่ต้องเชื่อมน้ำตาลก่อนเพราะว่าน้ำตาลปึกละลายง่ายอยู่แล้ว ใช้น้ำตาลผสมกับน้ำกะทิได้เลย แล้วจึงกรองเศษผงออกทีหลัง(โดยใช้ผ้าขาวบาง)การผสมน้ำกะทิอย่าให้หวานหรือมันมากเกินไปเพราะจะทำไม่ให้อร่อยในส่วนของรสหวานนั้นควรเผื่อน้ำแข็งละลายด้วย น้ำกะทิไม่ควรแช่เย็น ความเย็นจะทำให้น้ำกะทิเป็นไข ถ้าต้องการรับประทานเย็นๆ ให้ใส่น้ำแข็งทุบจะดีกว่า
ขนมน้ำเชื่อม
ขนมน้ำเชื่อมส่วนใหญ่จะเป็นพวกผลไม้ (ผลไม้ลอยแก้วต่างๆ) ซึ่งจะใช้ผลไม้ 1ส่วนต่อน้ำเชื่อม 2 ส่วน จะใช้รับประทานร้อนๆ แช่เย็นหรือใส่น้ำแข็งทุบก็แล้ว แต่ชนิดต่างๆของผลไม้ รสของผลไม้ เช่นถ้าผลไม้มีรสเปรี้ยวทานร้อนๆก็ไม่อร่อยการทำน้ำเชื่อมใช้น้ำตาลทราย 2 ถ้วยผสมน้ำ 1 1/2 ถ้วยตั้งไฟเคี่ยวให้น้ำตาลทรายละลายหมด แล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนที่ตาถี่ๆ พักไว้ พอน้ำเชื่อมเย็นเก็บใส่ขวดแก้วที่มีผาปิดสนิท ใช้ผสมกับขนมน้ำเชื่อมจะทำให้รสอร่อยกว่าใช้น้ำตาลที่ไม่ได้เชื่อม

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง

ส่วนผสม
ฟักทองปอกเปลือก นำไปนึ่ง 500 กรัม
มะพร้าวขูด500 กรัม
แป้งข้าวเจ้า1 ถ้วย
แป้งมัน1 ถ้วย
น้ำตาลทราย1 ถ้วย

วิธีทำ
1. บดฟักทองที่นึ่งให้ละเอียด
2. คั้นมะพร้าวด้วยน้ำอุ่น 1/2 ถ้วย คั้นให้ได้กะทิ 1 1/4 ถ้วย(แบ่งมะพร้าวขูดขาวไว้ 1 ถ้วย สำหรับโรยหน้าขนม)
3. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาล เข้าด้วยกัน ใส่ฟักทอง นวดให้เข้ากัน
4. ตั้งลังถึงให้น้ำเดือด นึ่งขนมประมาณ 15 นาที ยกลง ปล่อยให้เย็นแล้วตัดเป็นชิ้นพอคำ หรือชิ้นตามชอบ(จะตักใส่ทระทง นึ่งเป็นกระทงก็ได้หรือหยอดใส่พิมพ์ขนมก็สวยดี)

ขนมหน้านวลหรือขนมทองโปร่ง

ขนมหน้านวลหรือขนมทองโปร่ง


ส่วนผสม

ไข่แดงไข่ไก่ 1 ถ้วยตวง

แป้งสาลีร่อนแล้วตวง 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทรายป่นละเอียด 2 ถ้วยตวง

วานิลลา 1 ถ้วยตวง



วิธีทำ

1. ตีไข่แดงให้ขึ้นฟู ค่อยๆ ใส่น้ำตาลทีละน้อยจนหมด ตีให้ข้นเป็นสีนวลขาว

2. ใส่แป้ง วานิลลา ตล่อมเบาๆให้เข้ากัน

3. พิมพ์รูปเรือ ทาด้วยน้ำมันหรือเนยขาวให้ทั่ว อบพิมพ์ให้ร้อนจัดประมาณ 3 นาที ตักส่วนผสมหยอดลงพิมพ์ประมาณ 3/4 ของพิมพ์ อบไฟ 375 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 15-20 นาที พอขนมหน้าตึงเป็นสีนวลนำออกจากเตา พักขนมให้เย็น แคะออกจากพิมพ์ ลักษณะขนมที่ดี หน้าจะเป็นสีนวล หน้าจะไม่โปร่งหรือแตก ข้างในเรียบกลวง มีน้ำเยิ้มเล็กน้อย

19.10.08

กล้วยบวชชีน้ำกะทิ

กล้วยบวชชีน้ำกะทิ

**ควรใช้กล้วยสุก แต่อย่าต้มนานจนเนื้อเละนะคะส่วนผสม (สำหรับ 4 ที่)
เมล็ดงา 2 ช้อนโต๊ะ
กล้วย 4 ผล
น้ำกะทิ 500 มล.
น้ำตาล 4 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1/8 ช้อนชา

วิธีทำ
1. คั่วเมล็ดงาในกระทะ โดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ใช้ไฟกลาง คั่วประมาณ 4-5 นาที จนเมล็ดงาออกสีเหลืองทอง
2. ปอกเปลือกกล้วยและหั่นเป็น 4 แฉก
3. นำกล้วย น้ำกะทิ และเกลือใส่หม้อเล็ก เอาขึ้นตั้งไฟกลาง ต้มให้ระอุประมาณ 8 นาที หรือจนเนื้อกล้วยดูนุ่ม
4. ตักแบ่งกล้วยและน้ำกะทิใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยเมล็ดงาและเสิร์ฟร้อนๆ แนะนำ :หากต้องการกล้วยเชื่อมที่ลงตัวมากขึ้น แช่สาคูในน้ำเย็นให้พอตัวประมาณ 15 นาที จากนั้นเอาลงหม้อต้มพร้อมกล้วยในขึ้นตอนที่ 3

เทียนอบ อบร่ำขนมไทย

เทียนอบ อบร่ำขนมไทย

ขนมไทย เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ประจำชาติไทยที่มีผู้อนุรักษ์และสืบสานกรรมวิธีในการทำไม่ได้ขาด แม้เพียงจำนวนไม่มากหรือถ้าเป็นขนมที่ทำยาก ต้องใช้ศิลปะในการทำค่อนข้างสูง ก็ยิ่งหาผู้สืบทอดได้น้อย เสน่ห์ของขนมไทยนี้นอกจากจะอยู่ที่รสชาติอันกลมกล่อมอร่อยลิ้น และรูปลักษณ์ที่งดงามอ่อนช้อยตามแบบไทย ที่เกิดขึ้นจากฝีมือประณีตของผู้ประดิดประดอยแล้ว ยังมีกลิ่นหอมรัญจวนจิตซึ่งเป็นปัจจัยเชื้อเชิญให้ลองลิ้มชิมรสอีกด้วย ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของขนมไทยก็คือกลิ่นหอมนั่นเองหนึ่งในกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของขนมไทยก็คือเทียนอบ คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่อาจยังไม่เคยเห็นรูปร่างหน้าตาของเทียนอบจะรู้อีกทีก็ตอนได้กลิ่นเทียนอบติดขนมไปแล้ว หรือบางคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ากลิ่นที่ตัวเองบอกว่าหอมหวนนั้นคือ กลิ่นของเทียนอบ ก็เลยกินไปอย่างเอร็ดอร่อย ซึ่งในรสอันหอมหวาน โดยไม่รู้ที่มาของกลิ่นเอาเสียเลย การใช้เทียนอบที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนนั้นไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยใด ทราบแต่เพียงว่าใช้กันมาตั้งนานแล้ว โดยใช้อบขนมไทยเป็นหลัก เช่น ในการทำลูกชุบ เมื่อกวนถั่วเรียบร้อยแล้วก็จะอบเทียนให้หอมก่อนจึงนำมาปั้นเป็นรูป ในการทำขนมหม้อตาลแบบโบราณ เมื่อหยอดน้ำตาลลงในพิมพ์รูปหม้อแล้ว สักพักก็เรียงขนมลงในโหล เพื่ออบควันเทียนให้หอม ฯลฯ และนอกจากคนสมัยก่อนจะใช้เทียนอบในการอบขนมให้มีกลิ่นหอมแล้วยังใช้อบแป้งร่ำดอกสารภี เพื่อใช้ประทาตัวหลังอาบน้ำอีกด้วย ขนมที่ต้องผ่านกรรมวิธีการอบเทียนนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาทิสำปันนี ทองเอก กลีบลำดวน ปุยฝ้าย โสมนัส ข้าวตู ฯลฯ อย่างน้ำกะทิที่นำมาราดซ่าหริ่ม ลอดช่อง แดงไทย ฯลฯ ก็ล้วนต้องการผ่านการอบร่ำด้วยเทียนอบทั้งสิ้น การฟั่นเทียนกรรมวิธีในการทำเทียนที่เรียกว่าการฟั่นเทียน การฟั่นเทียนนับเป็นงานฝีมือสำคัญของหญิงไทยโบราณ แน่นอนว่าขั้นตอนในการทำย่อมแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในสมัยก่อนเขาจะนำรังผึ้งมากวนด้วยพายไม้ในกระทะทองเหลืองแล้วกรองเอาเฉพาะขี้ผึ้งที่เป็นของเหลวสีเหลือง จากนั้นก็โรยกำยานลงในขี้ผึ้ง แล้วเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน เสร็จแล้วก็นำไปตากแดด นำมาแผ่เป็นแผ่น วางไส้ไว้ตรงกลาง แล้วขดเทียนเป็นรูปกิ้งกือ ปัจจุบันการทำเทียนอบก็ยังคงใช้ขี้ผึ้งจากทางภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อได้ขี้ผึ้งแท้มาแล้วก็นำมาผสมกับพาราฟินหรือขี้ผึ้งเทียมเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เหลวจนเกินไปรูปร่างของเทียนอบปัจจุบันไม่ได้ขดเป็นรูปกิ้งกือ เพียงแต่ดัดให้โค้งเข้าหากันเท่านั้น ส่วนเครื่องหอมที่ใช้คลุกเคล้ากับเนื้อเทียนนั้น นอกจากกำยานก็ยังมีเครื่องหอมแบบไทย ๆ อีกหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลทรายแดง เปลือกชะลูดบด พิมเสน ผิวมะกรูดหั่นฝอย น้ำมันจันทน์ ฯลฯ ในการอบควันเทียนขนมนั้นค่อนข้างมีเคล็ดลับที่พิถีพิถันสักหน่อย ซึ่งเคล็ดลับที่ว่านี้ก็สืบทอดมาแต่โบร่ำโบราณแล้ว คนโบราณจะวางเทียนอบลงบนตะคันหรือถ้วยดินเผาใบเล็ก ๆ แต่ปัจจุบันจะวางบนขันอะลูมิเนียมใบเล็ก ๆ แทน หรืออาจใช้จอกทองเหลืองก็ได้ การอบควันเทียนเริ่มด้วยการจุดไฟที่เทียนอบแล้วนำไปวางระหว่างขนมที่อยู่ในขวดโหล เมื่อไฟลามไปถึงขี้ผึ้งแล้วก็ดับไฟให้เหลือแต่ควัน จากนั้นก็ปิดฝาขวดโหลทันที ทิ้งไว้ค้างคืน ๑ คืน จะได้ขนมไทยกลิ่นหอมกรุ่นละมุนละไม ในขั้นตอนการอบควันเทียนนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้เถ้าดำ ๆ รอบเนื้อเทียนหล่นหรือปลิวไปถูกขนม ดังนั้น หากต้องการจะอบควันเทียน ครั้งต่อ ๆ ไปก็ต้องดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษเสียหน่อย เพราะเทียนอบที่ผ่านการใช้งานไปครั้งหนึ่งแล้วจะมีเถ้าดำ ๆ ติดอยู่เป็นจำนวนมาก ควรเอาเถ้าดำ ๆ รวมเนื้อเทียนนั้นออกไปเสียก่อน เรียกว่ากันไว้ดีกว่าแก้ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลังว่าขนมสวย ๆ กลิ่นหอม ๆ เปรอะเปื้อนไปหมด กลิ่นหอมต่าง ๆ ที่ว่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้ขนมไทยหอมหวนชวนชิม ขนมบางชนิดอาจใช้กลิ่นหอมอื่นเสริมกลิ่นเทียนอบด้วยก็ได้เช่นกัน การอบขนมด้วยดอกไม้และเทียนอบ นอกจากจะจุดเทียนอบด้วยวิธีการที่ได้บอกไปแล้ว อาจเสริมด้วยการนำดอกไม้หอมชนิดต่าง ๆ วางลงไปอบขนมด้วย ทิ้งไว้ ๑ คืน ขนมที่ได้จะทั้งหอมกลิ่นเทียนอบและกลิ่นดอกไม้ไปพร้อม ๆ กัน การอบขนมด้วยดอกกุหลาบ ดอกกุหลาบที่ใช้ต้องเป็นดอกกุหลาบมอญสีชมพูเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เท่าที่ได้เดินดูตามตลาดค้าต้นไม้ปัจจุบันดูแล้วกุหลาบมอญพันธุ์นี้ค่อนข้างจะมีน้อย ทั้งยังมีราคาแพงอีกด้วย ดังนั้นขนมไทยที่อบด้วยกลิ่นรัญจวนของดอกกุหลาบมอญสีชมพูนี้จึงหายากตามไปด้วย การอบขนมด้วยดอกกุหลาบทำได้โดยเด็ดกลิ่นดอกกุหลาบออกมาทีละกลีบ ๆ ชนิดต้องระวังไม่ใช้กลีบดอกช้ำแล้วนำไปโรยบนขนม จากนั้นก็ปิดฝาขนมไว้ทิ้งค้างคืน ๑ คืน รับรองได้เลยว่าหากดอกกุหลาบที่นำมาอบขนมเป็นดอกกุหลาบมอญสีชมพูของแท้ การอบขนมด้วยดอกกระดังงา จะต้องทำการลนกลับดอกกระดังงาด้วยไฟที่จุดจากเทียนอบเพื่อให้กลีบดอกช้ำเสียก่อน จากนั้นก็ต้องบีบกระเปาะดอกให้แตก กลิ่นหอมจะออกมาค่อนข้างฉุนเลยทีเดียว เมื่อทำขั้นตอนเตรียมดอกกระดังงานี้เรียบร้อยแล้วนำไปใส่ลงในขนมที่ต้องการอบแล้วปิดฝาให้มิดชิดทิ้งไว้ค้างคืน การนำไฟมาลนกลีบดอกกระดังงานี่ยังเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า "กระดังงาลนไฟ" อีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกันอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม" ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม" ในภาษาเขมรก็เป็นได้ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไลในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรมขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

18.10.08

ขนมไทยในเทศกาลต่างๆ

ขนมไทยในเทศกาลต่างๆ

ขนมไทยได้เข้ามามีบทบาทในงานบุญตั้งแต่อดีตมาแล้วที่คนไทยทำขนมพิเศษ ๆ เฉพาะงานบุญขึ้น นั่นหมายถึงในปีหนึ่ง ๆ จะมีการทำขนมชนิดนั้นเพียง ๑ ครั้งเท่านั้น เนื่องจากทำยากและต้องใช้แรงใจแรงกายของคนหลาย ๆ คนร่วมกัน ชาวบ้านจะทำขนมนั้น ๆ ในปริมาณมาก ซึ่งถ้าเหลือจากงานบุญก็จะนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านและเก็บไว้กินเอง หากจะเรียกขนมไทยในงานบุญนี้ว่าขนมตามฤดูกาลก็คงจะไม่ผิดนัก เทศกาลตรุษสงกรานต์ สมัยก่อน คนไทยถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จะกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบปฏิทินสากลตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จนกระทั่งปัจจุบัน เดิมทีเทศกาลขึ้นปีใหม่สงกรานต์ของไทยเราจะกำหนดวันงานไว้ ๓ วันด้วยกัน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เมษายนเป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เมษายนเป็นวันเถลิงศก ขึ้นจุลศักราชใหม่ตามสุริยคติ ข้าวเหนียวแดงและกะละแมเป็นพระเอกและนางเอกในเทศกาลตรุษสงกรานต์ การกวนข้าวเหนียวแดงและกะละแมนั้นต้องใช้แรงมาก จึงต้องอาศัยช่วงเทศกาลนี้ที่มีพ่อแม่พี่น้อง และญาติสนิทมิตรสหายมาร่วมประชุมกันโดยพร้อมเพรียง ร่วมแรงร่วมใจกันทำ เมื่อเสร็จแล้วก็นำไปทำบุญที่วัดร่วมกัน สะท้อนให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัวและในสังคมไทย การทำขนมปีใหม่ของคนไทยสมัยก่อนจึงต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ เพราะเมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะไปทำบุญเลี้ยงพระและก่อพระเจดีย์ทรายที่วัดแล้วจึงรดน้ำดำหัวเล่นสงกรานต์กันไปทั้ง ๗ วัน ขนมปีใหม่ของไทยจึงเป็นขนมพื้นเมืองที่ทำขึ้นแล้วสามารถเก็บไว้ได้หลายวันคือข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ในบรรดาขนมทั้งสามชนิดนี้ การกวนกะละแมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ใช่ว่าชาวบ้านจะนิยมกวนกันทุกปี ส่วนใหญ่มักจะทำข้าวเหนียวแก้วบ้าง ข้าวเหนียวแดงบ้างสลับกันไป เพราะสองอย่างนี้ทำได้ง่ายกว่า หรือถ้าบ้านไหนตั้งใจจะกวนกะละแม และเป็นครอบครัวใหญ่มีญาติพี่น้องมาก บรรยากาศช่วงกวนกะละแมจะคึกคักเป็นพิเศษ ทุกคนจะช่วยกันเตรียมการประมาณ ๒ วัน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลาน จะถือเป็นเรื่องสนุกสนานเพราะไม่เพียงแต่ได้กินกะละแมก้นกระทะเท่านั้น ยังอาจจะได้กินมะพร้าวเผา อ้อยเผาอีกด้วย การกวนกะละแม สิ่งที่ต้องใช้ได้แก่ น้ำตาลหม้อหรือน้ำตาลปีบ มะพร้าวและข้าวเหนียว ก่อนวันกวน ๑ วัน ชาวบ้านจะคัดเลือกมะพร้าวห้าวประมาณ ๑๐-๑๕ ลูก มาไว้เพื่อใช้คั้นน้ำกะทิตามนสัดส่วนที่ต่างจะต้องอาศัยความชำนาญว่าข้าวเหนียวกี่ทะนานต่อมะพร้าวกี่ลูกและใช้น้ำตาลในปริมาณเท่าใด ขั้นตอนแรก ต้องนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำเพื่อตักหยอดใส่โม่หิน แน่นอนว่าต้องใช้คนที่มีร่างกายแข็งแรงช่วยกันโม่ตั้งแต่ตอนบ่าย กว่าจะเสร็จก็ตกประมาณ ๓-๔ ทุ่มของวันเดียวกัน จากนั้นก็จะทับถุงน้ำแป้งไว้ด้วยลูกโม่ให้น้ำไหลออกจนเหลือเพียงเนื้อแป้งหมาด ๆ ในวันรุ่งขึ้นประมาณตีสามตีสี่ บรรดาผู้ใหญ่จะตื่นขึ้นมาช่วยกันทำขนมแสงไฟจากตะเกียงลานและตะเกียงลานและตะเกียงรั้วจะถูกจุดให้สว่าง เมื่อเด็กเห็นหรือได้ยินเสียงผู้ใหญ่พูดคุยกัน ก็อดลุกขึ้นมาร่วมวงไม่ได้ บางคนก็อาสาช่วยขูดมะพร้าวจำนวนไม่น้อยเลย จากนั้นก็จะคั้นมะพร้าวขูดด้วยน้ำลอยดอกมะลิใช้กรองแยกออกมาเป็นหัวกะทิและหางกะทิ ส่วนที่เป็นหัวกะทิให้เทลงกระทะใบใหญ่ เคี่ยวด้วยไฟจนแตกมัน แล้วตักใส่อ่างเก็บไว้ ขั้นต่อไป คือนำแป้งที่เตรียมไว้ใส่กะละมัง เทหาง กะทิและใส่น้ำตาลหม้อมาผสมคลุกเคล้าเข้าด้วยกันเสร็จ แล้วก็เทลงกระทะใบบัวคือกระทะเหล็กขนาดใหญ่ที่วางอยู่บนเตา ใส่ฟืนให้ลุกโชนแล้วจึงเริ่มลงมือกวนกะละแมกันตั้งแต่เช้าประมาณเก้าโมง ช่วงแรกแป้งก็ยังเหลวอยู่ใช้พายด้ามเดียวก็กวนได้ง่าย ช่วงนี้เด็ก ๆ ที่นึกสนุกมักจะมาขอผู้ใหญ่กวน แต่กระนั้นก็ต้องคอยขูดก้นกระทะเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้แป้งไหม้ติดก้นกระทะ และพอแป้งงวดข้นเหนียวเดือดเป็นฟองแล้วเด็ก ๆ ต้องระวังไม่ให้ฟองแตกถูกตัว เพราะจะทำให้ผิวหนังพองและแสบมาก เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ผู้ใหญ่มักจะลงมือกวนเอง มีการราไฟและเร่งไฟบ้างเป็นจังหวะ จนกระทางแป้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นสีน้ำตาลแก่ ช่วงนี้แป้งและน้ำตาลจะเหนียวหนุบหนึบขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องออกแรงกวนมากเป็นพิเศษ ราว ๖ โมงเย็นของวันนั้น กะละแมก็จะกลายเป็นสีดำและเหนียวมากจนแทบจะกวนไม่ไหวต้องใช้พายอันที่สองเข้าช่วยเพราะไม่อย่างนั้นก้นกระทะจะไหม้ได้ ถ้าสังเกตเห็นว่าก้นกระทะทำท่าจะไหม้แล้วต้องรีบเติมหัวกะทิที่เคี่ยวแตกมันแล้วลงไป โดยใส่ทีละน้อยตั้งแต่เวลาบ่ายแก่ ๆ เป็นต้นมา ฟ้าเริ่มมืด กะละแมที่กวนก็เหนียวได้ที่ดีแล้ว จึงค่อย ๆ ราไฟในเตาให้อ่อนลง เพื่อป้องกันไม่ให้ก้นกระทะไหม้ จากนั้นจึงใช้พายทั้ง ๒ ด้ามตักกะละแมใส่กระด้งที่ปูด้วยเปลือกกาบหมากเพราะกาบหมากจะช่วยให้กาละแมมีกลิ่นหอมกว่าใบตอง เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการกวนกะละแม เพื่อเก็บไว้กินในวันรุ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักจะอดใจไม่ไหวจะคอยขูดกะละแมที่ก้นกระทะกินกันก่อนอย่างเอร็ดอร่อย บางคนก็จะนำมะพร้าวอ่อนบ้างอ้อย บ้าง มาหมกไฟที่ยังพอมีเชื้ออยู่เพื่อให้มีกลิ่นหอมมากขึ้น ..........ปัจจุบัน ประเพณีการให้ขนมปีใหม่เป็นกะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว เริ่มไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะคนไทยส่วนใหญ่มักจะซื้อของขวัญอย่างอื่นมอบให้กันในวันปีใหม่ แต่ก็ใช่ว่าขนมทั้งสามชนิดนี้จะหมดไปจากสังคมไทยเพราะทุกวันนี้ก็ยังเห็นมีกะละแมห่อเป็นคำเล็ก ๆ น่ารับประทานวางขายกับข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง ตามร้านขายขนมไทยอยู่ทั่วไป อีกทั้งไม่ได้เจาะจงว่า จะต้องมีเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ของไทยเท่านั้น เทศกาลสารทไทยเทศกาลสารทไทยเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับทางภาคกลางจะมีการรวมพลในแต่ละบ้านหรือในหมู่บ้าน เพื่อกวนกระยาสารทไปทำบุญถวายพระ โดยมีกล้วยไข่ผลงามสุกปลั่งเคียงคู่กันไปด้วย ส่วนทางภาคใต้เทศกาลสารทไทยหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่างานสารทเดือน ๑๐ นี้ เป็นประเพณียิ่งใหญ่ประจำปีที่จัดขึ้นในระดับจังหวัดโดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นจัดขึ้นอย่างเอิกเกริกเลยทีเดียว ขนมในงานบุญสารทเดือน ๑๐ ของชาวปักษ์ใต้มีหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมพอง ขนมไข่ปลา ขนมโค ขนมแดง ฯลฯ งานบุญออกพรรษาหรืองานตักบาตรเทโว ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดเป็นดาวดวงเด่นของงานบุญออกพรรษาหรืองานตักบาตรเทโวของภาคกลางจะห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางใต้ห่อเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกะพ้อแต่แต่ไม่มัด บางท้องถิ่นห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว เรียกว่า "ข้าวต้มลูกโยน" การนำข้าวต้มมัดมาใส่บาตรทำบุญจนเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นเสบียง ในการเดินทางไปเผยแพร่พระธรรมคำสอนซึ่งยึดเป็นแบบแผนมาตั้งแต่สมัยโบราณ งานมงคลต่างๆ.ในงานมงคลต่าง ๆ ของไทยอย่างงานแต่งงาน งานทำบุญอายุ งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช ฯลฯ ขนมไทยได้เข้าไปมีบทบาทในสำรับอาหารหวานที่ทำขึ้นเลี้ยงพระและสำรับอาหารหวานสำหรับเลี้ยงแขกเหรื่อมาเนิ่นนานแล้ว เนื่องจากความเชื่อที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า ขนมหวานเป็นอาหารพิเศษสำหรับผู้มีบุญ ความหวานช่วยสร้างสรรค์มิตรภาพและความรัก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสำหรับสังคมไทยแล้ว ขนมหวานของไทยมีความหมายเกี่ยวข้องกับบุญกุศล ความรัก ความสุข และความสามัคคี งานทำบุญเลี้ยงพระขนมหวานของไทยที่นิยมทำขึ้นเพื่อทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก และขนมที่มีชื่ออันเป็นมงคลอย่าง ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ฯลฯ ขนมที่ใช้เฉพาะในพิธีแห่ขันหมากงานแต่งงานก็มี ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมพระพาย ขนมโพรงแสม ขนมชะมด ฯลฯ ขนมที่ใช้ติดกัณฑ์เทศน์ก็มีขนมหน้านวล ขนมชั้น ขนมฝักบัว ขนมผิง ขนมทองม้วน ฯลฯ งานแต่งงาน .ขนมในงานมงคลอื่น ๆ ก็มีชื่ออันเป็นมงคลและมีความหมายไปในทางที่ดี เช่นกัน อาทิ * ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ซึ่งหมายถึงกงเกวียนที่หมุนไปข้างหน้าเช่นเดียวกับพระธรรมจักร ความหมายที่ต้องการสื่อถึงงานแต่งงานก็คือ ต้องการให้คู่บ่าวสาวรักและครองคู่อยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร์ * ขนมสามเกลอ ซึ่งเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคี และไม่มีวันพรากจากกัน โดยใช้เป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ลักษณะของขนมสามเกลอเป็นลูกกลม ๆ เรียงกัน ๓ ลูกแบบก้อนเส้า การเสี่ยงทายจะดูกันตอนทอด กล่าวคือ ถ้าทอดแล้วยังอยู่ติดกัน ๓ ลูก ถือว่าบ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกัน ถ้าทอดแล้วติดกัน ๒ ลูกแสดงว่าจะมีลูกยากหรือไม่มีเลย และถ้าหลุดจากกันหมด ไม่ติดกันเลย แสดงว่าชีวิตคู่จะไม่ยั่งยืนหรือชีวิตสมรสจะไม่มีความสุข อีกนัยหนึ่ง…ถ้าทอดขนมสามเกลอแล้วพองฟูขึ้นจะถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมกับราวกิ่งทองกับใบหยก แต่ถ้าทอดแล้วด้าน ไม่พองฟู ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ สาเหตุที่คนไทยในสมัยโบราณใช้ขนมดังกล่าวในงานมงคลก็เนื่องจากชื่ออันเป็นมงคลนั่นเอง โดยเฉพาะชื่อขนมที่มีคำว่า "ทอง" ประกอบ คนไทยเราถือว่าทองเป็นของดีมีมงคล ซึ่งการที่นำขนมที่มีคำว่า "ทอง" มาใช้ในงานมงคลก็เพื่อที่จะได้มีบุญกุศลมีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมขื่อขนมนั่นเอง งานเลี้ยงต่างๆ.........นอกจากงานบุญและงานมงคลดังกล่าวแล้ว ในสมัยก่อนยังมีงานเลี้ยงใหม่ของเหล่าเศรษฐีและข้าราชการผู้มีเมตตามุทิตาประจำใจซึ่งจะเรียกชาวบ้านมากินขนมกัน ขนมที่ถูกนำมาเลี้ยงในงานนี้ก็คือ ขนมสี่ถ้วยอันได้แก่ ขนมไข่กบหรือเม็ดแมงลัก ขนมนกปล่อยหรือลอดช่อง ขนมนางลอยหรือข้าวเม่า และขนมไอ้ตื้อหรือข้าวเหนียวดำนึ่ง ขนมทั้ง ๔ ชนิดนี้ จะรับประทานร่วมกับน้ำกะทิ เรียกได้ว่าคนกินอิ่มอร่อยสบายท้อง คนทำคนปรุงได้บุญ และคนออกเงินเลี้ยงก็สุขใจที่ได้ทำบุญทำทานขนมไทยนัยแห่งยศถา
ความหมายดีๆของขนมไทย

ขนมหวานของไทยนั้นมีทั้งรสชาติหวาน และกลิ่นหอมที่ได้จากเทียนอบ มีรูปลักษณ์อันงดงามอันเกิดจากการประณีตบรรจง ประดิษฐ์ ให้อาหารทั้ง สวย น่ารับประทาน ในการมอบของขวัญที่ทำจากขนมไทยในงานเทศกาลต่างๆนั้น ล้วนแต่มีความหมายแฝงทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งผู้ให้และผู้รับได้รับความเป็นศิริมงคลโดยทั่วกัน โดยมีความหมายที่ดีดังนี้ การเลื่อนตำแหน่ง
ขนมจ่ามงกุฎ การยกย่องกันที่สุดเห็นจะได้แก่การมอบขนมจ่ามงกุฎให้เนื่องจากคำว่า "จ่า" แปลว่าหัวหน้า ส่วนคำว่า "มงกุฎ" สื่อถึงพระราชาหรือผู้เป็นใหญ่ ดังนั้น จ่ามงกุฎจึงหมายถึงหัวหน้าผู้เป็นใหญ่ ดังนั้นจ่ามงกุฎจึงหมายถึงหัวหน้าผู้เป็นใหญ่ ความหมายสูงส่งอย่างนี้ เมื่อบวกกับการทำที่แสนยาก อีกทั้งยังต้องใช้ศิลปะในการทำค่อนข้างสูง จ่ามงกุฎจึงถูกมอบให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงจริง ๆ เท่านั้น
ขนมชั้น.....หมายถึงความเจริญเป็นชั้นที่สูงขึ้น ๆ
ขนมถ้วยฟู หมายถึงความเจริญฟูเฟื่อง
ขนมทองเอก หมายถึงชีวิตที่เป็นหนึ่งตลอดกาล
ขนมทองพลุ หมายถึงความเจริญ มีชื่อเสียงโด่งดัง เหมือนพลุ
ขนมลูกชุบ หมายถึงความน่ารักน่าเอ็นดู ซึ่งมักจะเป็นผู้ใหญ่ให้ผู้น้อย
ขนมมะพร้าวแก้วหรือข้าวเหนียวแก้ว ที่สื่อถึงแก้วอันประเสริฐ
ขนมเสน่ห์จันทร์ ที่หมายถึงความมีเสน่ห์ดุจดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญ
ขนมตาล ที่หมายถึงชีวิตที่หวานราบรื่น

ขนมหม้อแกงเผือก

ขนมหม้อแกงเผือก

ส่วนผสม
ไข่เป็ด4 ฟอง
มะพร้าวขูดขาว 500 กรัม 2 ถ้วย
น้ำร้อนสำหรับคั้นกะทิ 3/4 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ3/4 ถ้วย
เผือกนึ่งสุดบดละเอียด1/2 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.บดเผือกกับกะทิ 1 ถ้วย และแป้งจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน(แบ่งไว้ 1/2 ถ้วย)
2. ขยำไข่กับน้ำตาลทั้งสองชนิดด้วยใบเตย 5 นาที เทข้อ 1 ขยำต่ออีก 5 นาที กรองด้วยกระชอนลวด
3. จุดเตาอบอุณหภูมิ 350 องศาฟาเรนไฮท์ นำถาดเข้าอบจนร้อนจัด(3 นาที) นำออกจากเตาเทกะทิที่ผสมเผือกลง 1/2 ถ้วย เกลี่ยให้ทั่วถาด เทข้อ 2 ใส่ถาด เกลี่ยหน้าให้เสมอราดหน้าด้วยกะทิที่เหลืออีก 1/2 ถ้วย ให้เสมอกันทั่วถาด เข้าอบจนหน้าเหลืองเข้มเกือบเป็นสีน้ำตาล ประมาณ 30 นาที นำออกจากเตาวางถาดบนตะแกรง ปล่อยไว้ให้เย็นสนิท จึงตัดเป็นชิ้นลงจานเสิร์ฟเป็นอาหารหวาน

17.10.08

ผลไม้ลอยแก้ว

ผลไม้ลอยแก้ว

1. ลองหลับตานึกถึงภาพผลไม้หลากสีหลายรส ทั้งเปรี้ยวจี๊ดหวานจัด มีกลิ่นหอม หั่นชิ้นสวยๆมาวางจัดใส่จานแก้วใสๆ เติมน้ำแข็งบดลงไปอีกสักนิด พอน้ำแข็งเริ่มละลายผสมกับน้ำเชื่อมกลิ่นส้ม คุณว่าอร่อยขนาดไหน ว่าแล้วก็รวบรวมผลไม้ในใจคุณก่อนเลย จากนั้นเคี่ยวน้ำเชื่อมด้วยน้ำตาลทรายขาว น้ำส้มซันคิสต์ (จากผลส้มสดสัก 2 ลูก) ขูดเอาผิวลงผสมด้วยเล็กน้อยพอแค่ได้กลิ่น มากเกินไปจะขม
2. ปอกหั่นตัดแต่งผลไม้ให้สวย แต่อย่าลืมว่าผลไม้ที่จะนำมาเชื่อมลอยแก้วนั้นไม่ควรสุกมากเพราะเนื้อจะเละเวลาเชื่อม เตรียมผลไม้ที่สุกง่ายไว้หลังสุด นำหม้อน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ขึ้นตั้งบนเตา ใช้ความร้อนปานกลาง พอน้ำเชื่อมเริ่มเดือดปุด เติมน้ำส้มสดพร้อมผิวส้มและเกลือป่น ชิมรสดูหวานมากไปให้เติมน้ำมะนาวได้เล็กน้อย
3. เมื่อน้ำเชื่อมเดือดดีแล้วค่อยๆใส่ผลไม้ที่เตรียมไว้ลงเชื่อมทีละชนิด แค่ผลไม้สุกเป็นพอ ปิดไฟ ฉีกใบสะระแหน่โรยใส่ พักให้เย็น ระหว่างพักจนความร้อนค่อยๆเย็นลงนั้น ผลไม้ที่เชื่อมจะยังสุกต่อไป ตอนเชื่อมจึงต้องระวังอย่าให้ผลไม้สุกมากไปเพราะเมื่อเนื้อผลไม้เย็นก็จะเละเทะไม่น่าดู ไม่น่าทาน จากนั้นตักใส่จาน โรยน้ำแข็งบด พร้อมเสิร์ฟได้เลย

ขนมไข่หงส์

ขนมไข่หงส์

เครื่องปรุง ตัวเปลือก
เผือกนึ่งสุกยีละเอียด 1/2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วยตวง
น้ำกะทิคั้นข้น 1/4 ถ้วยตวง
น้ำมันสำหรับทอด ไส้ขนม
ถั่วเขียวซีกนึ่งสุกบดละเอียด 2 ถ้วยตวง
รากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงเจียวเหลือง 1/4 ถ้วยตวง
เกลือ น้ำตาล สำหรับปรุงรส
น้ำมันสำหรับผัดน้ำสำหรับเคลือบน้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1. นวดเผือก แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิเข้าด้วยกันจนนุ่มมือ อย่าให้เปียกหรือแห้งมากเกินไป ถ้าเปียกเวลาปั้นให้แตะแป้งแห้งเป็นนวล
2. กระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน 1-2 ช้อนโต๊ะ นำรากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกลงผัดจนหอม ใส่ถั่วบดลงผัด ปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือ และพริกไทยป่น ชิมให้รสจัด ใส่หอมเจียวผัดให้แห้ง ปั้นได้ ทิ้งไว้พออุ่น ปั้นเป็นลูกกลมประมาณหัวนิ้วมือ พักไว้
3. นำแป้งที่นวดไว้มาแผ่เป็นแผ่นกลมหุ้มไส้ถั่วที่ปั้นไว้ให้มิด คลึงเบาๆให้กลม นำไปทอดให้เหลือง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ทิ้งไว้ให้เย็น
4. กระทะที่ทอดขนมไว้ เทน้ำมันออก ตั้งไฟ ใส่น้ำตาลลงไป เติมน้ำเล็กน้อย ใช้ไฟอ่อน ผัดสักครู่จนน้ำตาลละลายหมดและเหนียว นำขนมที่ทอดสุกแล้วลงผัดให้น้ำตาลจับกับขนม ตักขึ้นทิ้งไว้ให้เย็น น้ำตาลจะตกผลึกจับกับขนม

ไอศกรีมกาแฟ

ไอศกรีมกาแฟ

ส่วนผสม
นมสด3 1/2 ถ้วย
ไข่แดง1/2 ฟอง
นมผง1 ถ้วย
วิปปิ้งครีม1 ถ้วย
น้ำตาลทรายแดง3/4 ถ้วย
กลิ่นกาแฟเล็กน้อย
กาแฟสำเร็จรูปชนิดเกล็ด 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
สีผสมอาหารสีน้ำตาลเข้ม (สีกาแฟ)เล็กน้อย

วิธีทำ
1. เทนมสดและน้ำตาลทรายแดงใส่เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ปั่นให้น้ำตาลละลาย เติมนมผง ปั่นต่อให้ส่วนผสมเข้ากัน
2. ใส่ไข่แดง วิปปิ้งครีม กาแฟ น้ำตาลทรายแดง ปั่นให้เป็นเนื้อเดียวกัน
3. เทส่วนผสมใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งไฟให้ร้อนจัด (อย่าให้เดือด) หมั่นคน ยกหม้อลงแช่ในน้ำให้ส่วนผสมเย็น แล้วเทใส่กล่องพลาสติกปิดฝา บ่ม (แช่) ในตู้เย็นอย่างน้อย 4 ชั่วโมง แล้วจึงเติมสีและกลิ่นกาแฟ คนผสมให้เข้ากัน
4. นำส่วนผสมใส่เครื่องปั่นไอศกรีม ปั่นให้เป็นไอศกรีม (นานประมาณ 25 นาที) แช่ในตู้ไอศกรีมหรือช่องแช่แข็งจนแข็งหมายเหตุ- ถ้าต้องการทำไอศกรีมรสช็อกโกแลตให้ใช้ผงโกโก้ (ตรานางพยาบาล) 4 ช้อนโต๊ะ แทนกาแฟสำเร็จรูป- ถ้าต้องการทำไอศกรีมรสม็อคคา ให้ใช้กาแฟสำเร็จรูป 2 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับผงโกโก้ 2 ช้อนโต๊ะแทน


16.10.08

ประโยชน์และโทษของช็อกโกแลต

ประโยชน์และโทษของช็อกโกแลต

ใครที่ชอบกินช็อกโกแลตบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีประโยชน์และโทษของช็อกโกแลตมาฝากกัน...
ในอดีตนักเคมีเคยพบว่าช็อกโกแลตมี เฟนิลไธลามิน, ธีโอโบรไมน์ และกาเฟอีน ซึ่งสารเหล่านี้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ในช็อกโกแลตยังให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเอ ดี เค และธาตุเหล็กค่อนข้างสูง หากกินมากเกินไป อาจส่งปัญหาด้านสุขภาพทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบสารฟลาโวนอยด์ในช็อกโกแลต หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจหรือแม้กระทั่งมะเร็งบางชนิด และยังพบว่ายังมีสรรพคุณช่วยให้คลายเครียด เนื่องจากมีสารไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีแห่งความสุขที่ชื่อเอ็นโดรฟินออกมา ช่วยทำให้รู้สึกอารมณ์ดี
ดังนั้น ชาวยุโรปส่วนใหญ่เชื่อว่าการกินช็อกโกแลตจะทำให้สุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาว อีกทั้งยังสามารถช่วยลดไข้รักษาอาการอาหารไม่ย่อยและช่วยให้มีลมหายใจที่หอมสดชื่นอีกด้วย
รู้อย่างนี้แล้ว ก็ควรกินช็อกโกแลตในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อสุขภาพที่ดี



นมจากเนื้อไก่ทดแทนนมวัว

นมจากเนื้อไก่ทดแทนนมวัว

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พัฒนานมจากเนื้อไก่สำเร็จ โดยนำเนื้อไก่มาปรุงด้วยวิธีพิเศษและเติมสารอาหารที่จำเป็นจนได้ส่วนผสมเนื้อเนียนละเอียด นำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส และนำมาละลายเมื่อต้องการบริโภคนมจากเนื้อไก่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน ในขั้นแรกผลิตเป็นนมสำหรับทารกก่อน ใช้ดื่มแทนนมวัวและนมถั่วเหลือง ได้โดยไม่มีอาการแพ้ ทั้งนี้จากการวิจัยให้ทารกดื่มนมเนื้อไก่พบว่า เด็กมีอาการแพ้นมเนื้อไก่น้อยกว่านมถั่วเหลือง 8 เท่า และเมื่อเด็กทารกที่แพ้นมทุกชนิด ทดลองดื่มเป็นเวลา 3 เดือน ไม่ปรากฎภาวะแทรกซ้อน ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกำลังจะพัฒนานมเนื้อไก่สำหรับผู้ใหญ่ต่อไป แต่นมจากเนื้อไก่มีราคาสูงกว่านมปกติ จึงเหมาะกับผู้แพ้นมทุกชนิดเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

ที่มา : horapa.com

สารเมลามีนในนม

สารเมลามีนในนม

จากกรณีข่าววิกฤตนมผงปนเปื้อนสารพิษของจีน ซึ่งทำให้ทารกเสียชีวิตไป 4 คน ล้มป่วยจากอาการไตวาย อีก 6,244 คน
ทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าในจีนต้องเก็บนมผงและผลิตภัณฑ์นมแทบทุกชนิด เช่น โยเกิร์ต กาแฟ
ลูกอม ไอศกรีม ออกจากชั้นวางขายสินค้าจนหมดเกลี้ยง หลังจากพบสารเมลามีนปนเปื้อนเพิ่มเติมในนมยี่ห้อดัง ยี่หลี่ เมิ่งหนิว และกวงหมิง ซึ่งเป็นสินค้าครองตลาดจีนมายาวนาน มีลูกค้าอุดหนุนหลายล้านคน
หลังจากมีข่าวดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ของไทยได้ เร่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์นมผงทุกชนิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งผลการตรวจสอบไม่พบการนำเข้าแต่อย่างใด
เหตุการณ์ข้างต้นทำให้เกิดคำถามตามมาว่าสารเมลามีนคืออะไร สารเมลามีนเป็นสารที่ใช้ผสมในการผลิตเม็ดพลาสติก และพบในยาฆ่าแมลงเป็นอันตรายต่อร่างกาย
กรณีที่พบสารเมลามีนปนเปื้อนในนมผงสำหรับทารก สื่อของจีนได้รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตนมผงจีนบางราย
นำสารเมลามีนใส่ในนมเพื่อเพิ่มความเข้มข้น และทำให้ค่าของโปรตีนในนมมีปริมาณสูงขึ้น
สารเมลามีนไม่สร้างประโยชน์แก่ร่างกายมนุษย์ หากบริโภคเข้าไปจะก่อให้เกิดอะไร เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ไว้ ซึ่งอาการในเด็กที่ดื่มนมปนเปื้อนจะพบว่ามีอาการเป็นนิ่วในไต เนื่องจากตะกอนของเมลามีนที่เป็นสิ่งแปลกปลอมไม่สามารถย่อยสลายได้เดินทางเข้าไปสู่ระบบการย่อยอาหารพร้อมกับน้ำนม และยังพบว่าเมลามีนเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินหายใจได้ด้วย
จากการเกิดวิกฤตด้านคุณภาพสินค้าของจีนในครั้งนี้ นับเป็นบทเรียนสำคัญของผู้บริโภคในการที่จะบริโภคสิ่งใด หากเป็นสิ่งสำคัญแก่ร่างกายและชีวิตว่าจะต้องพิถีพิถัน และระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ต้องแน่ใจว่าสะอาด ปลอดภัย ผลิตหรือทำเองได้ก็ควรจะทำ หากผลิตเองไม่ได้ขอให้อานฉลากทุกครั้งก่อนซื้อ ซื้อเฉพาะสินค้าที่มั่นใจว่าปลอดภัย เช่น มีเครื่องหมาย อย.รับรอง
เรื่องนี้ถือเป็นความปลอดภัยจากการกินอาหาร ซึ่งตามหลักสุขบัญญัติข้อที่ 4 ได้เน้นกันมาโดยตลอด ที่สำคัญ หลักประพฤติสำหรับผู้เป็นแม่ในการที่จะให้อาหารปลอดภัยแก่ลูกซึ่งเป็นทารกนั้น ควรจะให้อาหารที่ปลอดภัยที่สุดแก่ลูกนั่น คือ นมแม่ รับรองได้ว่านมแม่จะปลอดจากสารเมลามีน การให้นมแม่เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่ชีวิตตามสุขบัญญัติข้อที่ 6 ที่ว่าด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่นให้แก่ครอบครัวหรือจะเรียกว่าเป็นสายใยรักก็ว่าได้ ที่สำคัญการให้นมแม่แก่ทารกเป็นการเดินตามเส้นทางแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด เป็นการที่จะทำให้ลูกได้ดื่มนมได้พอประมาณไม่มากไปไม่น้อยไปเหมาะสม สามารถทำให้ลูกน้อยอิ่มได้ ไม่สิ้นเปลืองเงิน ทำให้เกิดความใกล้ชิด เกิดความอบอุ่น ผูกพัน เด็กจะมีอารมณ์ดี ตัวแม่เองได้ทำหน้าที่ดูแลปกป้อง สัมผัส สังเกตความผิดปกติที่จะเกิดกับเด็กได้ทันการ ได้ฝึกความชำนาญและฝึกทักษะของผู้เป็นแม่ในการที่จะเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการของลูกทั้งเรื่องการเคลื่อนไหว การได้ยิน การมองเห็นของลูก นับเป็นเหตุเป็นผลที่การแพทย์ทั่วโลกให้การรับรอง ที่สำคัญเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ลูกน้อยในอันที่จะไม่เจ็บไม่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ไข้หวัด ไอ ได้ง่าย ๆ เพราะนมแม่มีสารป้องกันโรคภูมิแพ้อยู่ และจากบทเรียนเรื่องสารปนเปื้อน นมแม่สามารถการรันตีได้เป็นอย่างแน่นอนว่า...นมแม่เป็นภูมิคุ้มกันลูกอย่างดีที่จะปลอดภัยจากสารเมลามีน
ในขณะเดียวกันนี้เรื่องสารเมลามีนน่าจะเป็นเรื่องที่กระตุ้นจิตสำนึกของผู้ขายหรือผู้ผลิตทั่วโลกเป็นอย่างดีว่าในการทำธุรกิจคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากกว่าการแสวงหาผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว การที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้รับความเดือดร้อนเสียหาย สินค้ารวมทั้งบริษัทก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ ผลจะย้อนกลับถึงบริษัทให้เสียหาย รวมถึงการเสียชื่อเสียงแก่บริษัทให้ถึงกับล้มได้ในที่สุด และที่สำคัญสุด ๆ คือ ประเทศชาติเสียหาย ทำลายความศรัทธาและความเชื่อถือจากผู้บริโภคทั่วโลก ดังนั้นหลักธรรมมาภิบาลจึงมีความสำคัญมากในการที่ดำรงความเชื่อถือและศรัทธาให้แก่ประเทศ หวังว่าภาคธุรกิจและราชการของไทยจะใส่ใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี.


ที่มา : กองสุขศึกษา

12.10.08

ขนมสาลี่

ขนมสาลี่

ส่วนผสม

1. แป้งเค้ก 1 1/2 ถ้วยตวง
2. ไข่ไก่ 1 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลทรายละเอียด 1 ถ้วยตวง
4. น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
5. น้ำมะนาว 1-2 ช้อนชา
6. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา


วิธีทำ

1. ตีไข่ไก่ด้วยความเร็วสูงให้ไข่ไก่เข้ากัน ประมาณ 10-15 นาที

2. ค่อยๆใส่น้ำตาลลงในไข่ทีละน้อย(ขณะตีไข่) ใส่จนน้ำตาลหมดใส่เกลือป่นตีต่อไปเรื่อยๆ จนไข่ฟู เป็นสีครีมขาว

3. ใส่มะนาว กลิ่นวนิลา ตีต่อไปจนไข่ตั้งฟูเต็มที่ ค่อยๆใส่แป้งอย่างเบามือลงในไข่ไก่ที่ตีขึ้นแล้วสลับกับน้ำลอยดอกมะลิ เคล้าเบา ๆ ให้เข้ากันแล้วเทลงในถาดขนมที่นึ่งไว้จนร้อนจัดแล้วทันที นึ่งขนมด้วยไฟกลางประมาณ 20-30 นาที

4. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น จิ้มลงตรงกลางขนม แล้วดูที่ไม้ถ้ามีเศษขนมติดอยู่ให้นึ่งต่อไปจนขนมแห้งสุกดีแล้ว เนื้อขนมจะขึ้นฟูและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ


หมายเหตุ

ในขณะนึ่งควรไม่ให้ไอนำหยดลงบนหน้าขนม เพราะจะให้หน้าขนมเสียไม่สวย
ที่มา : baitong.in.t

ขนมตาล

ขนมตาล

ส่วนผสม

1. ลูกตาลสุก 1 ผล
2. ข้าวสารเก่า 2 ถ้วยตวง
3. แป้งท้าวยายม่อม 1/4 ถ้วยตวง
4. น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
5. หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
6. มะพร้าวทึกขูดฝอย 2 ถ้วยตวง
7. เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1. ลอกเปลือกลูกตาลออกให้หมด ขูดเอาเนื้อสีเหลืองออก ตัวลูกตาลแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมด ใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาล และน้ำที่ละลายผูกมัดปากรวมไว้ให้แน่นแขวนหรือทับไว้ให้แห้ง
2. โม่ข้าวสารที่แช่น้ำไว้ให้ละเอียด แล้วทับให้แห้ง
3. ผสมข้าวสารที่โม่และทับจนแห้งแล้ว รวมกับแป้งท้าวยายม่อม และลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้วนวดส่วนผสมทั้งหมด เข้าด้วยกันจนแป้งที่ผสมเนียนและนุ่มมือ(ประมาณ 30-60 นาที)ใส่น้ำตาลสลับกับหัวกะทิ นวดจนหัวกะทิและน้ำตาล ละลายหมด พักไว้ประมาณ 5-10 ชั่วโมง
4. ตักแป้งที่ผสมแล้วใส่กระทงหรือถ้วยตะไล โรยมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุกยกลงถ้าใส่ถ้วยตะไลรอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากถ้วยจัดใส่ภาชนะ

ที่มา : baitong.in.th

ขนมครก

ขนมครก

เครื่องปรุงตัวแป้ง
1.แป้งข้าวเจ้า (แห้ง) 1 ถ้วยตวง
2.น้ำ 2 ถ้วยตวง
3. ข้าวสุก 1/3 ถ้วยตวง
4. มะพร้าวทึนทึกขูดขาว1/2 ถ้วยตวง
5. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
6.น้ำร้อน 1/2 ช้อนโต๊ะ

เครื่องปรุง หน้ากะทิ
1.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
3. เกลือป่น 1 1/2 ช้อนชา
เครื่องใช้เฉพาะเตาขนมครก ลูกประคบ

(กากมะพร้าวห่อ ด้วยผ้า ขาว โดยใช้ผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 6x6 นิ้ว )

วิธีทำ
1.ใส่กากมะพร้าวตรงกลางรวบ ชายผ้าเข้า มาทุกด้าน
2. ผูกเชือกให้กาก มะพร้าวรวมตัว เป็นก้อนกลมแผ่น ทิ้งชายไว้สำหรับจับช้อน สำหรับแคะขนมครก น้ำมัน สำหรับทาเบ้าขนมครก
3. ตวงแป้ง 1 ถ้วยตวงใส่ชามผสม เติมน้ำ 1 ถ้วยตวง คนให้เข้ากัน แล้วแช่ไว้ 12 ชั่วโมง หรือค้างคืน
4. บดข้าวสุก 1/3 ถ้วยตวง มะพร้าวขูด ถ้วยตวง พร้อมน้ำอีก 1 ถ้วยตวง
5. ใส่เบลนเดอร์จนละเอียดดี หรือโม่ด้วยโม่หินก็ได้
6. เทมะพร้าวและข้าวสุกที่บดแล้วลงในชามแป้งที่แช่ไว้ เติมเกลือป่น คนให้เข้ากันดี ใช้เป็นตัวแป้งขนมครก7. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือด้วยกัน คนให้น้ำตาลละลายตั้งเตาขนมครกบนไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนจัด จึงใช้ลูกประคบ แตะน้ำมันพืชเช็ดเบ้าขนมครกทุกเบ้าให้ชุ่มน้ำมัน ตักแป้งหยอดลงในเบ้าประมาณค่อนเบ้า รอสักครู่จึงหยอดหน้ากะทิลงประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ ปิดฝารอจนขอบแป้งเกรียมเหลือง จึงใช้ช้อนแซะขึ้นใส่ถาด

ที่มา : horapa.com

ตะโก้แก้ว

ตะโก้แก้ว

เครื่องปรุง
1.แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง
2.น้ำลอยดอกไม้ 4 ถ้วยตวง
3.น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
4.น้ำใบเตยคั้น 1/4 ถ้วยตวง

หน้าขนม
1.กะทิ 3 ถ้วยตวง
2.แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
3.เกลือป่น 1 ช้อนชา
4.กระทงใบเตย
5.แห้วต้มหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก 1/4 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1. ตัวขนม ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทราย ตั้งไฟพอละลาย ยกลงกรองทิ้งไว้ให้เย็น
2. ผสมแป้งถั่วเขียว น้ำเชื่อมจากข้อ 1 น้ำใบเตย คนให้เข้ากัน ตั้งไฟกวนจนสุกใส ใส่แห้วคนให้เข้ากัน
3. ตักตัวขนมใส่ในกระทงประมาณ 3/4 ของกระทง
4. ผสมกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือป่น เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟกวนจนข้น แป้งสุกตักหยอดลงในกระทงที่มีตัวขนมจนเต็ม ทิ้งไว้ให้เย็นใช้ได้

ที่มา : horapa.com

11.10.08

ขนมมันสำปะหลัง

ขนมมันสำปะหลัง

ส่วนผสม

1.มันสำปะหลังขูดบีบเอาน้ำออก 1 ถ้วย
2.แป้งมันสำปะหลัง
6 ช้อนโต๊ะ
3.แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
4.น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
5.หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
6.กลิ่นกะทิ 1/2 ช้อนชา
7.สีผสมอาหารสีต่างๆ
8.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย
9.เกลือป่น


วิธีทำ

1. นำมันสำปะหลังปอกเปลือกล้างให้สะอาด ขูดฝอยบีบเอาน้ำออก
2. ใส่แป้งมันสำปะหลัง แป้งเท้ายายม่อม น้ำตาลทราย กะทิ กลิ่นมะลิ คนให้เข้ากัน
3. นำแป้งมาใส่สีตามชอบ
4. ตั้งน้ำให้เดือด เรียงถ้วยตะไลในลังถึงให้เต็ม ตักขนมหยอดให้เต็มถ้วย
5. นำไปนึ่งประมาณ 15 นาทีหรือจนขนมสุก
6. ทิ้งไว้ให้เย็น แคะออกจากพิมพ์ แล้วโรยมะพร้าวขูดฝอยที่คลุกกับเกลือแล้ว

ข้อสังเกต
ถ้าจะดูว่าขนมสุกหรือไม่ ให้ใช้ไม้จิ้มลงไปในถ้วยขนม ถ้าขนมไม่ติดไม้แสดงว่าขนมสุกแล้วมะพร้าวทึนทึก หมายถึง มะพร้าวที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และก่อนจะเอามาโรยขนมต้องคลุกเกลือเสียก่อน แต่ห้ามนำไปนึ่งเด็ดขาด มะพร้าวจะแห้ง ควรใช้มะพร้าวสดๆโรยลงไปเลย

ที่มา : horapa.com

ทับทิมกรอบ

ทับทิมกรอบ
ส่วนผสม

1.แห้วต้มหั่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือมันแกว 1 ถ้วย
2.แป้งมัน 1/2 ถ้วย
3.น้ำตาลทราย 150 กรัม
4.น้ำทำน้ำเชื่อม 3/4 ถ้วย
5.มะพร้าวขาว 250 กรัม
6.น้ำแข็ง
7.สีขนมสีแดง หรือสีอื่นๆตามชอบ


วิธีทำ

1. ละลายสีแดงกับน้ำเล็กน้อย แช่แห้วพอติดสี ตักขึ้นคลุกแป้งให้ติดมากๆ ใส่กระชอนร่อนให้แป้งร่วน
2. ต้มน้ำ 5 ถ้วยให้เดือด ลวกเม็ดทับทิม พอลอย 3 นาที ตักขึ้นใส่น้ำเย็น ตักใส่ผ้าขาวบางไว้
3. คั้นมะพร้าวใส่น้ำ 1/4 ถ้วย คั้นให้ได้ 3/4 ถ้วย
4. ผสมน้ำเชื่อมกับกะทิ เวลารับประทานให้ตักเม็ดทับทิมใส่ถ้วย ใส่น้ำแข็ง

ที่มา : horapa.com

สาคูเปียกลูกแปะก้วย

สาคูเปียกลูกแปะก้วย

ส่วนผสม

1.สาคูเม็ดเล็ก 1 ถ้วยตวง
2.ลูกแปะก๊วยต้มพอสุก 1/2 ถ้วยตวง
3.น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
4.น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. นำสาคูไปเลือกเอาผงออก สงให้สะเด็ดน้ำ แล้วพักไว้
2. ต้มแปะก๊วยให้พอสุกนิ่ม พักไว้
3. ผสมน้ำตาลทราย กับน้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง ตั้งไฟให้เดือด ยกลงกรอง ยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยวสักครู่ ใส่แปะก๊วย พอเดือดสักครู่ ยกลง
4. ต้มน้ำเปล่าที่เหลืออีก 2 ถ้วยตวง จนเดือด เทสาคูลง คนให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่ จนสาคูสุกและใส
5. ใส่แปะก๊วยที่เชื่อมไว้ ลงไปพร้อมน้ำเชื่อม คนให้เข้ากัน
6. ถ้าไม่หวานพอให้ใช้น้ำตาล ทำเป็นน้ำเชื่อมเติม ถ้าสาคูข้นขึ้น ให้เติมน้ำร้อนลงไป เพราะเวลาที่สาคูเย็น จะแห้งและข้นขึ้น

ที่มา :horapa.com

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ

ส่วนผสม


1. ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
2.น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
3.หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง
4.สีผสมอาหารสีต่างๆส่วนที่ชุบวุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
5.น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง
6.น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ
1. ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ
2. กวนด้วยไฟอ่อนๆจนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ
3. พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้
4. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น
5. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น
6. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 3- 4 ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง
7. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม

ที่มา : horapa.com

10.10.08

บัวลอยไข่หวาน

บัวลอยไข่หวาน

ส่วนผสม

1.แป้งข้าวเหนียว 50 กรัม
2.น้ำเปล่า (สำหรับผสมตัวแป้ง) 1 ช้อนโต๊ะ
3.น้ำคั้นใบเตย 1 ช้อนโต๊ะ
4.น้ำตาลทราย 250 กรัม
5.น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
6.หัวกะทิคั้นข้นๆ 1/2 ถ้วยตวง
7.เกลือป่น 1/4 ถ้วยตวง
8.ไข่ไก่ 3 ฟอง

วิธีทำ

1. ผสมน้ำเปล่ากับน้ำตาลทรายให้เข้ากัน ใส่กระทะตั้งไฟพอเดือด จนส่วนผสมเป็นน้ำเชื่อมข้นๆ เบาไฟอ่อนๆ รอจนน้ำเชื่อมเป็นยางมะตูมอ่อนๆ เบาไฟอ่อน
2. ผสมแป้งข้าวเหนีว 25 กรัมกับน้ำเปล่า และผสมแป้งที่เหลือกับน้ำคั้นใบเตย นวดจนเนียน ปั้นเป็นเม็ดกลมเล็ก ใส่ก้อนแป้งลงต้มจนแป้งสุกใสและลอยขึ้น ตอกไข่ไก่ลงไปต้มในน้ำเชื่อม จนไข่สุกลอยขึ้น
3. ตั้งกะทิให้เดือด ใส่เกลือป่นคนจนละลาย
4. ตักบัวลอยใส่ถ้วย ตักน้ำกะทิราดข้างบน จัดเสิร์ฟถ้าอยากมีลูกบัวลอยสีอื่นๆก็ใช้น้ำคั้นจากผัก-ผลไม้ที่มีสีสันก็ได้นะคะ

ที่มา :horapa.com

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ

ส่วนผสม

1.แป้งข้าวเหนียวสด1 ถ้วยตวง
(ถ้าเป็นแป้งข้าวเหนียวชนิดแห้ง ใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ผสมน้ำ 1/2 ถ้วยตวง แล้วนวดให้เข้ากันเป็นก้อนนุ่ม)
2.น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
3.เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
4.งาขาวคั่วพอเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
5.ถั่วเขียวแช่น้ำลอกเปลือกนึ่งให้สุก 1/2ถ้วยตวง
6.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
7.สีผสมอาหาร
8.ใบเตย

วิธีทำ

1. นึ่งถั่วเขียวให้สุกเปื่อย เคล้ากับเกลือป่นพอมีรสเค็มเล็กน้อย (เกลือประมาณ 1/4 ช้อนชา)
2. ผสมน้ำตาลทราย เกลือป่น และงาคั่วพอเข้ากัน
3. ขูดมะพร้าวเป็นเส้นเล็กๆ เคล้าเกลือเล็กน้อย ถ้าต้องการเก็บขนมไว้นานควรนึ่งมะพร้าวประมาณ 5 นาที4. ค่อยๆเติมน้ำลงทีละ 2 ช้อนโต๊ะ ลงในแป้งสด นวดให้นุ่มพอปั้นได้ (แป้ง 1 ถ้วยตวง ใช้น้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แต่ขึ้นกับว่าแป้งมากหรือน้อย)
5. แบ่งแป้งออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน หยอดสีตามชอบ 1-2 หยด นวดให้เข้ากัน ควรใช้สีอ่อนๆ เช่น เหลือง ชมพู เขียว(ใช้ใบเตย) จะได้แป้ง 4 สี รวมทั้งสีขาวด้วย
6. ตั้งน้ำในหม้อ ใส่ใบเตยขยำพอช้ำ ตัดเป็นท่อนสั้นปิดฝาไว้ พอน้ำเดือดสักพักให้มีกลิ่นหอมช้อนใบเตยขึ้น
7. แบ่งแป้งเป็นก้อนกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว บีบให้แบน ใส่ลงต้มในมห้อน้ำพอแป้งสุกจะลอยขึ้น ใช้ทัพพีมีรูช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ใส่ในจานที่มีมะพร้าวขูดที่เตรียมไว้
8. พอแป้งเย็น แผ่แป้งออกให้บาง ตักถั่วใส่ตรงกลาง แล้วพับครึ่ง เม้มริมแป้งให้ติด คลุกมะพร้าวอีกครั้งใส่จานไว้ ทำจนหมดแป้ง เวลารับประทานโรยน้ำตาล เกลือ และงาคั่ว

ที่มา : horapa.com

ข้าวเม่าคลุก

ข้าวเม่าคลุก

ส่วนผสม

1.ข้าวเม่า 1 ถ้วยตวง
2.น้ำลอยดอกไม้ต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ
3.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 2 ถ้วยตวง
4.น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
5.เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1.ฝัดข้าวเม่าให้สะอาดเลือกเม็ดที่เสียทิ้ง
2.ผสมน้ำดอกไม้กับเกลือป่นคนให้ละลาย แล้วใส่น้ำตาลคนให้ละลายเข้ากัน พรมลงบนข้าวเม่าเคล้าเบาๆ ให้ข้าวเม่านิ่ม
3.แบ่งมะพร้าวขูดส่วนหนึ่งใส่ลงเคล้ากับข้าวเม่า ปิฝาไว้สักครู่ เพื่อให้ข้าวเม่านิ่มขึ้น
4.ตักข้าวเม่าใส่จานโรยด้วยหน้ามะพร้าวและน้ำตาลทราย

ที่มา : skn.ac.th

ขนมกล้วย

ขนมกล้วย

ส่วนผสม

1.กล้วยน้ำว้าสุกบด 2 ถ้วยตวง
2.แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
3.แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ
4.แป้งท้าวยายม่อม 3 ช้อนโต๊ะ
5.มะพร้าวทึนทึกขูด 1/4 ถ้วยตวง
6.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
7.น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
8.มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
9.เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1.ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้วท้าวยายม่อม เข้าด้วยกันแล้วใส่หัวกะทิลงนวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน
2.ใส่กล้วยบด น้ำตาลทราย ลงในแป้งที่นวดแล้ว คนให้เข้ากัน จนน้ำตาลละลาย ใส่มะพร้าวทึนทึกขูดลงผสมให้เข้ากัน
3.เทขนมใส่ลงในถาดหรือพิมพ์นำไปนึ่งให้สุกด้วยไฟแรงยกลงเวลาเสริฟโรยด้วยมะพร้าวขูดฝอยอีกครั้ง

ที่มา : skn.ac.th

กล้วยฉาบหวาน

กล้วยฉาบหวาน

ส่วนผสม
กล้วย 10-15 ผล
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำมันพืช 1 1/2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำ 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ
น้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน
ปอกกล้วยแล้วฝานเป็นแผ่นบางๆ ใส่ลงทอดในน้ำมันให้กรอบน่ากิน
ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือป่น ลงในกระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวให้เดือดเป็นยางมะตูม จนน้ำตาลเหนียวใส ใส่กล้วยลงคลุกน้ำตาล ปล่อยไว้จนน้ำตาลทรายแห้ง ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น จัดใส่ภาชนะ


ที่มา : skn.ac.th

9.10.08

วุ้นกะทิ

วุ้นกะทิ

ส่วนผสม

ผงวุ้น 2 ช.ต.
น้ำดอกไม้ 3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำใบเตย 1 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1 ช้อนชา
แป้งข้าวเจ้า 1 ช.ต.


วิธีทำ
ละลายผงวุ้นในน้ำดอกไม้ให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อนๆให้เดือดเติมน้ำตาลทราย คนให้ละลาย
แบ่งวุ้นเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใส่น้ำใบเตยตั้งไฟให้เดือด ยกลง
วุ้นส่วนที่เหลือตั้งไฟอ่อนๆ ละลายแป้งข้าวเจ้าลงในหัวกะทิใส่เกลือคนให้เข้ากับแล้วใส่ลงในวุ้นที่ตั้งไฟรออย่ รอให้เดือดยกลง
เตรียมพิมพ์หรือถาดใส่วุ้นกะทิลงไปครึ่งหนึ่งให้วุ้นเริ่มแข็งตัวใส่วุ้นใบเตยรอให้เย็น สนิทดีแล้วจึงจัดใส่ภาชนะ

ที่มา : skn.ac.th

ข้าวเหนียวแก้ว

ข้าวเหนียวแก้ว


ส่วนผสม
ข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
น้ำใบเตย 1/2 ถ้วยตวง
น้ำปูนใส 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ซาวข้าวเหนียวให้สะอาดวางลงบนรังถึงที่ปูด้วยผ้าขาวบาง ตั้งบนน้ำเดือด นึ่งจนข้าวเหนียวสุก
ใส่น้ำใบเตยผสมกับหัวกะทิคนให้เข้ากับน้ำปูนใส แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางใส่เกลือป่นคนให้เกลือละลาย ใส่ชามอ่างใบใหญ่ๆ
เมื่อข้าวเหนียวสุกดีตักข้าวใส่ชามกะทิเคล้าเร็วๆ ให้ข้าวเหนียวคลุกกับกะทิให้ทั่วปิดปากชามไว้ประมาณ 10-20 นาที ให้ข้าวเหนียวอมน้ำไว้จนกะทิแห้ง
ใส่น้ำตาลลงในข้าวเคล้าเบาๆ ให้ทั่วกัน แล้วเทใส่กระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ คลุกจนน้ำตาลละลายจับเม็ดทั่วยกลงจากเตา จัดใส่ภาชนะให้สวยงาม

ที่มา :skn.ac.th

ฝอยทองกรอบ

ฝอยทองกรอบ

ส่วนผสม


เส้นฝอยทอง 1 ถ้วยตวง
น้ำเชื่อมอย่างข้น 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

ใส่น้ำเชื่อมลงในกระทะทองตั้งไฟให้เดือด
ยีเส้นฝอยทองให้กระจายตัวดีแล้วใส่ลงไปในน้ำเชื่อม คลุกเคล้าให้น้ำเชื่อมจับเส้นให้ทั่ว จนน้ำเชื่อมแห้งยกกระทะลง
ใช้ช้อนตักฝอยทองให้เป็นก้อนกลมเล็กๆ ขนาดพอคำวางเรียงไว้บนตะแกงวางผึ่งลมให้แห้ง ตามต้องการแล้วจึงจัดใส่ภาชนะ

หมายเหตุ
ถ้าต้องการเก็บไว้ได้หลายวันควรผึ่งให้ฝอยทองแห้งสนิทถึงข้างใน

ที่มา :skn.ac.th

ลูกชุบ

ส่วนผสม

ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 1/3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

แช่ถั่วเขียวประมาณ 1-2 ชั่วโมง นึ่งให้สุกนุ่ม แล้วบดให้ละเอียด
หัวกะทิตั้งไฟอ่อนๆ ใส่นำตาลทรายลงเคี่ยวให้นำตาลละลายหมด ใส่ถั่วลงกวนกับกะทิตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แห้งจนถั่วล่อนออกจากกระทะ
เทถั่วที่กวนได้ที่แล้วลงในถาดหรือชามพักไว้ให้เย็น
ปั้นถั่วเป็นรูปผลไม้เล็กๆ ตามต้องการ แล้วระบายสีผลไม้ที่ปั้นไว้ให้เหมือนจริงพักไว้ให้สีแห้ง
ผสมผงวุ้นกับน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลายหมดยกลง วางพักไว้สักครู่
นำผลไม้ที่ระบายสีไว้ ชุบวุ้นให้ทั่ว พักไว้ให้แห้งแล้วชุบอีก 2 ครั้ง ปล่อยให้แห้งจึงนำไปตกแต่งให้สวยงาม

ที่มา :skn.ac.th

ข้าวเหนียวมูน

ส่วนผสมข้าวเหนียว

1.ข้าวเหนียวงู 6 ถ้วยตวง
2.หัวกะทิข้น 2 1/2 ถ้วยตวง
3.น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
4.เกลือป่น 2 ช้อนชา
5.สารส้มป่น 1/4 ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. นำข้าวเหนียวใส่หม้อ ใส่น้ำให้ท่วมข้าวเหนียว ขัดด้วยสารส้มให้ทั่ว เทน้ำสารส้มทิ้ง แช่ด้วยน้ำเปล่าให้
ท่วมข้าวเหนียว พักไว้ 1 คืน
2. ใช้ผ้าขาวบางปูลังถึง นำข้าวเหนียวเกลี่ยให้ทั่ว นึ่งน้ำเดือดไฟแรงประมาณ 45 นาที
3. เอาน้ำตาลทราย เกลือป่น ใส่ในหัวกะทิ ตั้งไฟคนให้ละลาย พอเดือด ยกลง
4. เมื่อข้าวเหนียวสุก ตักใส่ชามผสมหรือภาชนะ ใส่กะทิที่ผสมในข้อ 3 คนให้ทั่ว ปิดฝาพักไว้ ข้าวเหนียวจะดูดกะทิจนแห้ง (ต้องทำขณะข้าวเหนียวสุกจากลังถึง เพราะถ้าข้าวเหนียวไม่ร้อนจะไม่ดูดน้ำกะทิ)

ส่วนผสมหน้ากระฉีก

1.มะพร้าวทึนทึกขูดกระต่ายจีน 3
ถ้วยตวง
2.น้ำตาลปีบ 2
ถ้วยตวง
3.น้ำเปล่าหรือน้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. ผสมมะพร้าว น้ำตาลปีบ และน้ำเปล่า

2. ตั้งไฟกวนให้เหนียว ยกลง

ส่วนผสมสังขยา

1.กะทิ 2 ถ้วยตวง

2.น้ำตาลโตนด 1 1/2 ถ้วยตวง
3.ไข่ 4 ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. ละลายน้ำตาลกับกะทิ กรองด้วยผ้าขาวบาง

2. ใส่ไข่ และตีให้เข้ากันดี3. ใส่ภาชนะ นึ่งประมาณ 45 นาที

หมายเหตุ

1. สังขยาที่รับประทานกับข้าวเหนียวจะต้องหวานจัดสักหน่อย ถ้าเป็นสังขยาธรรมดา ลดน้ำตาลได้
2. เมื่อจะรับประทานข้าวเหนียว จัดใส่จาน ใช้ช้อนสังกะสีแบนค่อยๆ ช้อนสังขยาให้แบนๆ วางหน้าข้าวเหนียว

ที่มา : naichef.50megs.com